Menu:

พิพิธภัณฑ์ช่องเขาขาด

ช่องเขาขาด พิพิธภัณฑสถานแห่งความทรงจำ ตั้งอยู่ภายในกองการเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานทหารพัฒนา หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา บริเวณกิโลเมตรที่ 64 - 65 บนทางหลวงหมายเลข 323 (กาญจนบุรี-ไทรโยค-ทองผาภูมิ) ช่องเขาขาดพิพิธภัณฑ์สถานแห่งความทรงจำ เป็นสถานที่จัดแสดงมินิเธียเตอร์เกี่ยวกับเหตุการณ์ในช่วงก่อสร้างสะพาน ดูแล้วทำให้รู้สึกสลดใจเป็นอย่างมาก นอกเหนือจากนั้นสถานที่แห่งนี้ได้รวบรวมข้อมูลภาพถ่าย ข้าวของเครื่องใช้ระหว่างการสร้างทางรถไฟสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยรัฐบาลออสเตรเลียได้จัดตั้งพิพิธภัณฑ์ขึ้น

                                                             http://www.holidaythai.com/9kimjor/blogs-370.htm

พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

Picture
พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ตั้งอยู่ใกล้กับโบราณสถานดอนเจดีย์ สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2542 ซึ่งเป็นวันครบรอบ 400 ปี แห่งชัยชนะที่สมเด็จพระนเรศวรทรงทำยุทธหัตถีได้ชัยชนะต่อเมืองหงสาวดี ในปี พ.ศ. 2142 จังหวัดกาญจนบุรีและประชาชนผู้มีจิตศรัทธาทั่วประเทศได้บริจาคเงินสมทบทุนสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงประทับช้าง ไว้เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานให้ปวงชนชาวไทยได้ถวายสักการะรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงพระปรีชาสามารถได้รับชัยชนะใน   การทำสงครามยุทธหัตถี  สามารถปกป้องเอกราชของชาติไทยไว้ได้ในสมัยกรุงศรีอยุธยา

การเดินทาง
ตั้งอยู่ที่บ้านดอนเจดีย์ จากกรุงเทพฯไปตามทางหลวงหมายเลข 323 จนถึงบริเวณ สี่แยกท่าม่วง เลี้ยวขวาไป 2 กิโลเมตร จะมีป้ายบอกทางไปดอนเจดีย์อีก 11 กิโลเมตร  


ภาพเขียนสี (ถ้ำผาแดง)

Picture
ภาพเขียนสี (ถ้ำผาแดง) ถูกค้นพบโดย ครูด่วน ถ้ำทอง อดีตครูโรงเรียนประชาบาลในจังหวัดกาญจนบุรี เป็นผู้ไปค้นหา ถ้ำตามคำบอกเล่าของชาวบ้าน และแจ้งให้รองศาสตราจารย์ปรีชา กาญจนาคม คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ไปสำรวจในปี พ.ศ. 2531  ตลอดแนวหน้าผายาว 60 เมตร ปรากฏภาพเขียนสีเป็นกลุ่มๆ เป็นระยะๆ เป็นภาพคน สัตว์และสิ่งของ เขียนด้วยสีแดงคล้ำแบบเงาทึบและแบบเค้าโครงรอบนอก ภาพเขียนสีที่ปรากฏให้เห็นบนผาแดงนี้ น่าจะเป็นผลงานที่สร้างขึ้นเพื่อบ่งชี้ถึงการพยายามเล่าเรื่องเหตุการณ์หรือพิธีกรรมแห่งความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งกลุ่มคนเจ้าของภาพได้ร่วมกันสนุกสนาน อาจมีการร้องรำทำเพลงด้วยเครื่องดนตรีรูปน้ำเต้า และเต้นรำร่วมกันด้วยความเคารพบูชาในสิ่งที่มีความเชื่อร่วมกัน ดังนั้นชุมชนที่วาดภาพเหล่านี้คงมีชีวิตอยู่ด้วยการล่าสัตว์ และทำการเกษตรกรรมเมื่อราว 3,000 ปีมาแล้ว และใช้สถานที่ถ้ำผาแดงนี้บอกเรื่องราวที่เคยเกิดขึ้นที่นั้นนั่นเอง

การเดินทาง 
จากตัวเมืองกาญจนบุรี ขับรถไปตามทางหลวงหมายเลข 3199 ไปยังอำเภอศรีสวัสดิ์ เลยตัวอำเภอไปประมาณ 5 กิโลเมตร จะเห็นป้ายทางเข้าถ้ำอยู่ทางด้านขวามือ


วิหารพระแท่นดงรัง

Picture
วิหารพระแท่นดงรัง ภายในวิหารมีแท่นหินขนาดใหญ่ เรียกว่า พระแท่นดงรัง ที่ชาวบ้านเชื่อถือว่าเป็นพระแท่นศักดิ์สิทธิ์ที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน ณ ที่นี้  อีกทั้งภายในยังประดิษฐานรอยพระพุทธบาททำจากไม้ขนาดใหญ่แห่งเดียวในประเทศไทย รวมทั้งพระแท่นบรรทม เป็นหินแท่งทึบหน้าลาดรูปคล้ายแท่นหรือเตียงนอน เดิมมีต้นรังอยู่ริมพระแท่นข้างละต้น โน้มยอดเข้าหากัน ในบริเวณวัดยังมีโบราณสถานที่เกี่ยวข้องกับพุทธประวัติ เช่น บ่อบ้วนพระโอษฐ์ วิหารพระอานนท์ ฯลฯ

การเดินทาง
วัดพระแท่นดงรังตั้งอยู่ในเขตอำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี จากกรุงเทพฯ ไปตามทางหลวงหมายเลข 323 ถึงบริเวณแยกตลาดท่าเรือ เลี้ยวขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 3081 ระหว่างกิโลเมตรที่ 9 - 10


สะพานข้ามแม่น้ำแคว

Picture
สะพานแห่งประวัติที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักทั้งคนไทยและชาวต่างชาติที่จังหวัดกาญจนบุรีแห่งนี้ มีประวัติและเรื่องราวสืบทอดกันมาเนิ่นนานให้ลูกหลานได้รำลึกถึงเรื่องราวของความโหดร้าย การสูญเสียที่ล้วนแล้วแต่เกิดมาจากสงครามทั้งสิ้น 
    สะพานที่มีความยิ่งใหญ่ในเรื่องราวของประวัติความเป็นมาแห่งนี้เริ่มขึ้นเมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นช่วงของสงครามมหาเอเชียบูรพา สะพานและทางรถไฟสายนี้เป็นเส้นทางที่กองทัพทหารญี่ปุ่นสร้างขึ้นเพื่อให้เป็นเส้นทางเชื่อมต่อไปยังประเทศพม่า โดยใช้แรงงานจากเฉลยศึกของฝ่ายสัมพันธมิตรจากอังกฤษ อเมริกัน ออสเตรเลีย ฮอลันดา และนิวซีแลนด์ โดยประมาณ ๖๑,๗๐๐ คน ยังไม่รวมถึงจำนวนของกรรมกรที่เป็นชาวจีน ญวน ชวา มลายู พม่า อินเดียและคนไทย

หลายหมื่นชีวิตต้องจบสิ้นลงบนเส้นทางสายนี้เนื่องมาจากความยากลำบากทั้งจากธรรมชาติเอง ความเหน็ดเหนื่อย การขาดแคลนอาหาร จนนำไปสู่โรคภัยไข้เจ็บ และความโหดร้ายทารุณจากภาวะของสงคราม ว่ากันว่ามีการเปรียบเทียบหนึ่งไม้หมอนของทางรถไฟสายมรณะคือหนึ่งชีวิตที่ต้องแลก

    สะพานข้ามแม่น้ำแควที่เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางรถไฟสายนี้ใช้เวลาในการสร้างแค่เพียง 1 เดือนเท่านั้น โดยแรงงานคนทั้งหมด ตอนกลางสะพานจะสร้างด้วยเหล็กจากมลายูเป็นชิ้นๆมาประกอบเข้าด้วยกัน โดยแบ่งเป็นช่วงทั้งหมด11 ช่วง ในส่วนหัวและท้ายของสะพานสร้างจากโครงไม้ สะพานมีความยาวทั้งหมดประมาณ 300 เมตร แต่ในปัจจุบันสะพานข้ามแม่น้ำแควได้มีการปรับปรุงใหม่หลักจากที่สะพานแห่งนี้เกิดการชำรุดจากการถูกโจมตีทางอากาศของทหารฝ่ายสัมพันธมิตรนั่นเอง เราสามารถขึ้นไปเดินดูความสวยงามบนสะพานพานแห่งนี้ได้ด้วย และจะมีจุดพักเป็นช่วงๆให้เราได้หยุดดูรถไฟวิ่งผ่านเราไปอย่างใกล้ชิดจนแทบจะลืมหายใจเวลาที่รถไฟวิ่งด้วยความเร็วห่างตัวไปไม่กี่คืบเท่านั้น และเพื่อระลึกถึงสะพานข้ามแม่น้ำแควและรถไฟสายมรณะเส้นนี้ ในทุกปีจะมีการจัดงาน งานสัปดาห์สะพานข้ามแม่น้ำแคว ขึ้นในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนถึงช่วงต้นเดือนธันวาคม ซึ่งจะมีการแสดงนิทรรศการในทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี การแสดงพื้นบ้าน การออกร้านจำหน่ายสินค้าพื้นเมือง และการแสดง แสง สี เสียงอย่างสวยงามตระการตา

การเดินทางไปสะพานข้ามแม่น้ำแคว
สะพานข้ามแม่น้ำแคว อยู่ที่ตำบลท่ามะขาม ห่างจากตัวเมืองกาญจนบุรีไปทางทิศเหนือตามทางหลวงหมายเลข ๓๒๓ ประมาณ ๔ กิโลเมตร แยกซ้ายประมาณ ๘๗๐ เมตร

สามารถใช้บริการรถรางนั่งชมเส้นทางรถไฟทุกวัน มีบริการตั้งแต่เวลา ๘.๐๐ -๑๘.๓๐ น. ค่าบริการท่านละ ๒๐ บาท รอบละ ๒๕ นาที

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
สำนักงานจังหวัดกาญจนบุรี โทรศัพท์ 0- 3451- 1778, 0 -3451 -5208
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานกาญจนบุรี โทรศัพท์ 0- 3451- 1200, 0- 3451- 2500
ศูนย์ประสานงาน กรุงเทพฯ โทรศัพท์ 0-2862-7070
www.kanchanaburi.go.th


ทางรถไฟสายมรณะ

Picture
ทางรถไฟสายมรณะ ทางรถไฟสายนี้เริ่มต้นจากสถานีหนองปลาดุก อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ผ่านกาญจนบุรี ข้ามแม่น้ำแควใหญ่ไปทางทิศตะวันตก ผ่านด่านพระเจดีย์สามองค์ จนถึงปลายทางที่เมืองต้นบีอุซายัต ประเทศพม่า เส้นทางสายนี้เป็นน้ำพักน้ำแรงการบุกเบิกของทหารเชลยศึกพันธมิตรที่กองทัพญี่ปุ่นเกณฑ์สร้างเพื่อใช้เป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ผ่านประเทศพม่า ทิวทัศน์ตลอดเส้นทางนี้สวยงามเป็นอย่างยิ่ง ปัจจุบันเส้นทางสายนี้สิ้นสุดที่บ้านท่าเสา 

การเดินทาง
การรถไฟแห่งประเทศไทยเปิดเดินรถทุกวันและจัดรถไฟขบวนพิเศษสายกรุงเทพฯ-น้ำตก ทุกวันเสาร์ วันอาทิตย์และวันหยุดราชการ ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย